Spread the love

ต้นไม้ข้างบ้านแผ่กิ่งก้านรุกล้ำบ้านเรา สามารถตัดออกเลยได้หรือไม่?

ปัญหาต้นไม้ของข้างบ้านแผ่กิ่งก้านรุกล้ำเข้าเขตบ้านเรา นอกจากจะรกหูรกตาแล้วยังเป็นภาระให้ต้องคอยเก็บกวาดใบไม้ที่ร่วงหล่นอีก แบบนี้สามารถที่จะตัดแต่งกิ่งออกเลยได้หรือไม่ หรือเจ้าของต้นไม้จะว่าไหม ทำแล้วผิดกฎหมายหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

กฎหมายที่เกี่ยวกับปัญหาเพื่อนบ้านและต้นไม้กิ่งไม้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

• มาตรา 1335 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย

• มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้

ประมวลกฎหมายอาญา

• มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุป ต้นไม้ข้างบ้านแผ่กิ่งก้านรุกล้ำบ้านเรา สามารถตัดออกเลยได้หรือไม่?

ส่วนของต้นไม้ที่รุกล้ำเข้าเขตบ้านเรา จะตัดออกได้เลยหรือไม่ พิจารณาตามส่วนของต้นไม้ ดังนี้

• กิ่งก้าน ไม่สามารถตัดได้ทันที ต้องแจ้งเจ้าของต้นไม้นั้นให้ตัดก่อน หากแจ้งแล้วแต่เขาไม่ตัด เราจึงจะตัดได้

• รากต้นไม้ หากรุกล้ำเข้าเขตบ้านเรา ทำให้เกิดปัญหาโครงสร้างบ้าน หรือรากเลื้อยชอนไชจนทำให้บ้านเสียหายหรือดูรก สามารถตัดได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งเพื่อนบ้าน (เจ้าของต้นไม้)

• ดอกหรือผล หากยังไม่หล่นจากต้น และแม้จะล้ำเข้ามาในเขตบ้านเรา ก็ยังถือเป็นสิทธิ์ของเจ้าของต้นไม้ เราไม่สามารถเด็ดกินได้ เว้นแต่จะร่วงหล่นตามธรรมชาติในเขตบ้านเรา แบบนั้นสามารถเก็บกินได้โดยไม่ถือเป็นความผิด

• ต้นไม้

– หากต้นไม้ขึ้นอยู่ตรงกลางระหว่างเขตแนวทั้ง 2 บ้าน จะถือเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกัน หากตัดต้นไม้แล้วสิทธิ์ในส่วนของเนื้อไม้ ดอก ผล ถือเป็นของทั้ง 2 ฝ่ายเท่ากัน

– แต่ถ้าต้นไม้อยู่ในเขตของเพื่อนบ้าน มีกิ่งก้านรุกล้ำเขตบ้านเรา แต่เพื่อนบ้านอ้างว่าต้นไม้นั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ได้เป็นผู้ปลูกเองจึงไม่รับผิดชอบ ในทางกฎหมายหากต้นไม้ขึ้นอยู่ในเขตที่ดินใคร ก็ถือเป็นส่วนควบกับที่ดินนั้น ดังนั้นแม้ไม่ได้ตั้งใจปลูกต้นไม้ แต่ก็ต้องรับผิดชอบหากต้นไม้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

 

นอกจากปัญหาเพื่อนบ้านในเรื่องเกี่ยวกับต้นไม้แล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกที่อาจเป็นประเด็นชวนให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างบ้านใกล้เรือนเคียงได้ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก 5 ปัญหาเพื่อนบ้าน กับกฎหมายที่ควรรู้

 

อ้างอิงข้อมูล
สำนักงานกิจการยุติธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายอาญา

Cr. https://www.dharmniti.co.th/neighbors-fight-2/


Spread the love

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save